ข้อบังคับ
มูลนิธิ ฉันรักประเทศไทย
หมวดที่ 1 ชื่อเครื่องหมายและ สำนักงานที่ตั้ง
ข้อ 1 มูลนิธินี้ชื่อว่า มูลนิธิฉันรักประเทศไทย ย่อว่า ม.ฉรท เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า I Love Thailand Foundation
ข้อ 2 เครื่องหมายของมูลนิธิ คือ ตามรูปที่ปรากฎด้านล้างนี้
ข้อ 3 สำนักงานใหญ่ของมูลนิธิตั้งอยู่ที่ 145 ซอยเจริญนคร 40 แขวงบางลำภูล่าง เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร 10600
หมวดที่ 2 วัตถุประสงค์
ข้อ 4 วัตถุประสงค์ของมูลนิธินี้ คือ
4.1 เพื่อสนับสนุนการศึกษาแก่เด็กที่ขาดแคลนโอกาสทางการศึกษา
4.2 เพื่อสนับสนุนสร้างสถานศึกษาที่ขาดแคลนในชนบททั่วทุกภูมิภาคของประเทศ
4.3 เพื่อสนับสนุนโครงการเกษตร อาหารกลางวันแก่เด็กด้อยโอกาสตามโรงเรียนต่างๆ ในถิ่นทุรกันดารทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ
4.4 เพื่อช่วยเหลือครอบครัวของผู้ประสบภัยจากเหตุความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
4.5 เพื่อช่วยเหลือครอบครัวของผู้ประสบภัยจากเหตุภัยพิบัติตามธรรมชาติทุกประเภท
4.6 เพื่อดำเนินการ หรือร่วมมือกันองค์กรการกุศลอื่นๆ เพื่อสาธารณประโยชน์
4.7 ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด
หมวดที่ 3 ทุนทรัพย์ ทรัพย์สิน และการได้มาซึ่งทรัพย์สิน
ข้อ 5 ทรัพย์สินของมูลนิธิทุนเริ่มแรกคือ
5.1 เงินสด จำนวน 250,000 บาท (สองแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)
ข้อ 6 มูลนิธิอาจได้มาซึ่งทรัพย์สินโดยวิธีต่อไปนี้
6.1 เงิน หรือ ทรัพย์สินที่มีผู้ยกให้โดยพินัยกรรม หรือนิติกรรมอื่นๆ โดยมิได้มีเงื่อนไขผูกพัน ให้มูลนิธิ ต้องรับผิดชอบในหนี้สิน หรือภาระติดพันอื่นใด
6.2 เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคให้
6.3 ดอกผลซึ่งเกิดจากทรัพย์สินของมูลนิธิ
6.4 รายได้ที่เกิดจากการทำกิจกรรมของมูลนิธิ
หมวดที่ 4 คุณสมบัติ และการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการ
ข้อ 7 กรรมการของมูลนิธิต้องมีคุณสมบัติดังนี้
7.1 มีอายุไม่ต่ำกว่า ๒๐ ปีบริบูรณ์
7.2 ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย หรือไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
7.3 ไม่เป็นผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุก เว้นแต่จะได้กระทำโดยประมาท หรือ
ความผิดลหุโทษ
ข้อ 8. กรรมการของมูลนิธิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
8.1 ถึงคราวออกตามวาระ
8.2 ตายหรือลาออก
8.3 ขาดคุณสมบัติตามข้อบังคับข้อ ๗
8.4 เป็นผู้มีความประพฤติและปฏิบัติตนเป็นที่เสื่อมเสีย และคณะกรรมการ
มูลนิธิมีมติให้ออก โดยมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของคณะกรรมการมูลนิธิ
หมวดที่ 5 การดำเนินการของคณะกรรมการมูลนิธิ
9. มูลนิธินี้ดำเนินการโดยคระกรรมการมูลนิธิมีจำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน แต่ไม่เกิน 20 คน
10. คณะกรรมการของมูลนิธิ ประกอบด้วย ประธานกรรมการมูลนิธิ รองประธานกรรมการมูลนิธิ เลขานุการมูลนิธิ
เหรัญญิก และกรรมการอื่นๆ ตามจำนวนที่เห็นสมควรตามข้อบังคับข้อ 9
11.การแต่งตั้งกรรมการมูลนิธิให้ปฎิบัติตามนี้ ให้คณะกรรมการมูลนิธิชุดที่ดำรงตำแหน่งอยู่แต่งตั้งประธานกรรมการมูลนิธิและกรรมการอื่นๆ ตามจำนวนที่เห็นสมควร ตามข้อบังคับ
12. กรรมการดำเนินงานมูลนิธิอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี
13. การแต่งตั้งกรรมการมูลนิธิให้ถือเสียงข้างมากของที่ประชุมคณะกรรมการ มูลนิธิเป็นมติของที่ประชุม
14. กรรมการมูลนิธิที่พันจากตำแหน่งตามวาระ อาจได้รับแต่งตั้งเข้าเป็นกรรมการมูลนิธิได้อีก
15. ในกรณีที่กรรมการของมูลนิธิพ้นจากตำแหน่งถึงคราวออกตามวาระ ให้กรรมการของมูลนิธิที่พ้นจากตำแหน่ง ถึง
คราวออกตามวาระ ปฎิบัติหน้าที่กรรมการของมูลนิธิต่อไป จนกว่ามูลนิธิจะได้รับแจ้งการจดทะเบียนกรรมการของ มูลนิธิที่ตั้งใหม่
หมวดที่ 6 อำนาจหน้าที่คณะกรรมการมูลนิธิ
ข้อ 16 ¬¬คณะกรรมการมูลนิธิมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินกิจการของมูลนิธิ ตาม วัตถุประสงค์ของมูลนิธิ และภายใต้ข้อบังคับนี้ ให้มีอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
16.1 กำหนดนโยบาย ของมูลนิธิและดำเนินการตามนโยบายนั้น
16.2 ควบคุมการเงินและทรัพย์สินต่าง ๆ ของมูลนิธิ
16.3 เสนอรายงานกิจการ รายงานการเงิน และบัญชีรายรับ-รายจ่าย ต่อนายทะเบียน
16.4 ดำเนินการให้เป็นไปตามมติที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ และวัตถุประสงค์ ของวัตถุประสงค์ของข้อบังคับนี้
16.5 ตราระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของมูลนิธิ
16.6 แต่งตั้งหรือถอดถอนคณะอนุกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง หรือหลายคณะเพื่อดำเนินการ เฉพาะอย่างของมูลนิธิ ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการมูลนิธิ
16.7 เชิญผู้ทรงคุณวุฒิ หรือบุคคลที่ทำประโยชน์ให้มูลนิธิเป็นพิเศษเป็น กรรมการ กิตติมศักดิ์
16.8 เชิญผู้ทรงเกียรติเป็นผู้อุปถัมภ์มูลนิธิ
16.9 เชิญผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการมูลนิธิ
16.10 แต่งตั้งหรือถอดถอน เจ้าหน้าที่ประจำของมูลนิธิ มติให้ดำเนินการตามข้อ 16.7 16.8 และ 16.9 ต้องเป็นมติเสียงข้างมากของที่ประชุมและที่ ปรึกษา ตามข้อ 16.9 ย่อมเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการมูลนิธิที่เชิญเท่านั้น¬¬
ข้อ 17 ประธานกรรมการมูลนิธิ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
17.1 เป็นประธานของการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ
17.2 สั่งเรียกประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ
17.3 เป็นผู้แทนของมูลนิธิในการติดต่อกับบุคคลภายนอก หรือการลงลายมือชื่อในเอกสาร ข้อบังคับ และสรรพหนังสือ อันเป็นหลักฐานของมูลนิธิ เมื่อประธานกรรมการมูลนิธิ หรือกรรมการมูลนิธิผู้ได้รับมอบหมายให้ทำการแทนได้ลงลายมือชื่อแล้วจึงเป็นอันใช้ได้
17.4 ปฏิบัติการอื่น ๆ ตามข้อบังคับ และมติของคณะกรรมการมูลนิธิ
ข้อ 18 ให้รองประธานกรรมการมูลนิธิทำหน้าที่แทนประธานกรรมการมูล เมื่อประธานไม่สามารถปฏิบัติ หน้าที่ได้ หรือในกรณีที่ประธานมอบหมายให้ทำการแทน
ข้อ 19 ถ้าประธานกรรมการมูลนิธิและรองประธานกรรมการมูลนิธิไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในการประชุมคราวหนึ่งคราวใดได้ให้ที่ประชุมเลือกตั้งกรรมการมูลนิธิคนใดคนหนึ่งเป็นประธานสำหรับการประชุมคราวนั้น
ข้อ 20 เลขาธิการมูลนิธิมีหน้าที่ควบคุมกิจการและดำเนินการประชุมของมูลนิธิ ติดต่อประสานงานทั่วไป รักษาระเบียบ ข้อบังคับมูลนิธินัดประชุมกรรมการตามคำสั่งของประธานกรรมการมูลนิธิและทำรายงานการประชุมตลอดจนรายงาน กิจกรรมของมูลนิธิ
ข้อ 21 เหรัญญิกมีหน้าที่ควบคุมการเงิน ทรัพย์สินของมูลนิธิ ตลอดจนบัญชีและ เอกสารที่เกี่ยวข้อง ให้ถูกต้องและเป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการมูลนิธิกำหนด
ข้อ 22 สำหรับกรรมการตำแหน่งอื่น ๆ ให้มีเจ้าหน้าที่ตามที่คณะกรรมการมูลนิธิกำหนด โดยทำเป็น คำสั่งระบุอำนาจหน้าที่ให้ชัดเจน
ข้อ 23 คณะกรรมการของมูลนิธิมีสิทธิ เข้าร่วมประชุมกรรมการ หรืออนุกรรมการอื่นๆ ของมูลนิธิได้
หมวดที่ 7 อนุกรรมการ
ข้อ 24. คณะกรรมการมูลนิธิอาจแต่งตั้งหรือถอดถอนอนุกรรมการได้ตามความ เหมาะสม โดยจะแต่งตั้งให้เป็นอนุกรรมการประจำหรือเพื่อการใดๆ เป็น กรณีพิเศษเฉพาะคราวก็ได้ และในกรณีที่คณะกรรมการมูลนิธิไม่ได้แต่งตั้ง
ประธานอนุกรรมการ เลขานุการหรืออนุกรรมการในตำแหน่งอื่นไว้ ก็ให้อนุกรรมการ และคณะกรรมการแต่งตั้งกันเอง และดำรงตำแหน่งดังกล่าว
ข้อ 25. อนุกรรมการอยู่ในตำแหน่งจนกว่าจะเสร็จที่ได้รับมอบหมายให้กระทำ ส่วน คณะอนุกรรมการประจำอยู่ในตำแหน่งตามเวลาที่คณะกรรมการมูลนิธิกำหนด ซึ่งถ้ามิได้กำหนดไว้ ก็ให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าวาระของคณะกรรมการมูลนิธิซึ่งเป็นผู้แต่งตั้ง และอนุกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งอาจได้รับการแต่งตั้งอีกก็ได้
25.1 อนุกรรมการมีหน้าที่ดำเนินการตามที่คณะกรรมการมูลนิธิมอบหมาย
25.2 อนุกรรมการมีหน้าที่เสนอความคิดเห็นต่อคณะกรรมการมูลนิธิเกี่ยวกับงานที่ได้รับมอบหมาย
หมวดที่ 8 การประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ
ข้อ 26. คณะกรรมการมูลนิธิจะต้องจัดให้มีการประชุมสามัญประจำทุก ๆ ปีภายใน เดือนมีนาคม และต้องมีกรรมการมูลนิธิเข้าประชุมอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
ข้อ 27. การประชุมวิสามัญอาจมีได้ ในเมื่อประธานกรรมการมูลนิธิ หรือเมื่อ คณะกรรมการมูลนิธิตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป แสดงความประสงค์ไปยังประธานกรรมการมูลนิธิ หรือมีการทำแทนขอให้มีการประชุมก็ให้เรียกประชุมวิสามัญได้
ข้อ 28. กำหนดการประชุมและองค์ประชุมของคณะกรรมการให้เป็นได้ไปตาม ที่ คณะกรรมการมูลนิธิได้กำหนดไว้ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประชุมให้คณะอนุกรรมการตกลงกันเอง และในส่วนที่เกี่ยวกับองค์ประชุมให้ใช้ ข้อ 26 บังคับโดยอนุโลม
ข้อ 29 ในการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิหรือคณะอนุกรรมการ หากมิได้มีข้อบังคับ กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น มติของที่ประชุมให้ถือเอาคะแนนเสียงข้างมาก ในกรณีที่คะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมเป็นผู้ชี้ขาด กิจการใดที่เป็นงาน
ประจำหรือเป็นกิจการเล็กน้อย ประธานกรรมการมูลนิธิมีอำนาจสั่งให้ใช้วิธีสอบถามมติทางหนังสือแทนการเรียกประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ แต่ประธานกรรมการมูลนิธิต้องรายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิในคราวต่อไป ถึงมติและกิจการที่ได้ดำเนินการไปตามมตินั้น กิจการใดเป็นงานประจำหรือเป็นกิจการเล็กน้อยหรือไม่ ย่อมอยู่ในดุลพินิจของประธานกรรมการมูลนิธิ
ข้อ 30. ในการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิหรือคณะอนุกรรมการ ประธานกรรมการ มูลนิธิหรือประธานในที่ประชุมมีอำนาจเชิญหรืออนุญาตให้บุคคลที่เห็นสมควรเข้าร่วมประชุมในฐานะแขกผู้มีเกียรติหรือผู้สังเกตการณ์หรือเพื่อชี้แจง หรือ
เพื่อให้คำปรึกษาแก่ที่ประชุมได้
หมวดที่ 9 การเงิน
ข้อ 31. ประธานกรรมการมูลนิธิ หรือรองประธานกรรมการมูลนิธิในกรณีที่ทำหน้าที่ แทนมีอำนาจสั่งจ่ายเงินได้คราวล่ะไม่เกิน 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาท) ถ้าเกินกว่าจำนวนดังกล่าว ต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการมูลนิธิโดยเสียง
ข้างมาก เว้นเเต่กรณีจำเป็นและเร่งด่วนให้อยู่ในดุลพินิจของประธานกรรมการมูลนิธิที่จะอนุมัติให้จ่ายได้ แล้วต้องรายงานให้คณะกรรมการมูลนิธิทราบในการประชุมคราวต่อไป
ข้อ 32. เหรัญญิกมีอำนาจเก็บรักษาเงินสดได้ครั้งล่ะไม่เกิน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)
ข้อ 33. เงินสดของมูลนิธิหรือเอกสารสิทธิ ต้องนำฝากไว้กับธนาคาร หรือสถาบัน การเงินอื่นใดที่รัฐบาลให้การค้ำประกัน หรือซื้อพันธบัตรรัฐบาลแล้วแต่ คณะกรรมการมูลนิธิจะเห็นสมควร
ข้อ 34. การสั่งจ่ายเงินโดยเช็คหรือตั๋วสั่งจ่ายเงินจะต้องมีลายมือชื่อของประธานกรรมการมูลนิธิหรือผู้ทำการแทนกับเลขานุการหรือเหรัญญิกลงนามทุกครั้ง จึงจะเบิกจ่ายได้
ข้อ 35. การใช้จ่ายเงินตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ รวมทั้งค่าใช้จ่ายประจำสำนักงาน ให้ จ่ายเพียงดอกผลอันเกิดจากทรัพย์สินที่เป็นทุน เงินที่บริจาคมิได้แสดงเจตนาให้ เป็นเงินสมทบทุนโดยเฉพาะ และรายได้อันเกิดจากการจัดกิจกรรมของมูลนิธิ
ข้อ 36. ให้คณะกรรมการมูลนิธิวางระเบียบเกี่ยวกับการเงิน บัญชี และทรัพย์สินของ มูลนิธิตลอดจนกำหนดอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ เกี่ยวกับการรับและจ่ายเงิน นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
ข้อ 37. ให้คณะกรรมการมูลนิธิกำหนดรอบระยะเวลาบัญชี และจัดทำรายงานสถานะ การเงินของมูลนิธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมา เสนอต่อที่ประชุมในการ ประชุมสามัญประจำปี
หมวดที่ 10 การเลิกมลูนิธิ
ข้อ 38. ถ้ามูลนิธิต้องเลิกล้มไปโดยมติของคณะกรรมการ หรือโดยเหตุผลใดก็ตามทรัพย์สินทั้งหมดของมูลนิธิที่เหลืออยู่ให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่ มูลนิธิชัยพัฒนาข้อ
ข้อ 39. การสิ้นสุดของมูลนิธินั้น นอกจากที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้ว ให้มูลนิธิเป็นอัน สิ้นสุดลงโดยมิต้องให้ศาลสั่งเลิกด้วยเหตุต่อไปนี้
39.1 เมื่อมูลนิธิได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิตบุคคลแล้วไม่ได้รับทรัพย์ตามคำมั่นเต็มจำนวน
39.2 เมื่อกรรมการมูลนิธิจำนวนสองในสาม มีมติให้ยกเลิก
39.3 เมื่อมูลนิธิไม่อาจหากรรมการได้ครบตามจำนวนกรรมการที่กำหนดไว้ใน ข้อบังคับของมูลนิธิ
39.4 เมื่อมูลนิธิไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ไม่ว่าด้วยเหตุผลใด
หมวดที่ 11 บทเบ็ดเตล็ด
ข้อ 40. การตีความข้อบังคับของมูลนิธิ หากเป็นที่สงสัย ให้คณะกรรมการมูลนิธิโดย เสียงข้างมากของจำนวนกรรมการที่มีอยู่เป็นผู้ชี้ขาด
ข้อ 41. ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ว่าด้วยมูลนิธิมาใช้บังคับ ในเมื่อข้อบังคับของมูลนิธิมิได้กำหนดไว้
ข้อ 42. มูลนิธิต้องไม่ดำเนินการหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกัน หรือเพื่อบุคคลใด นอกจากเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธินั้นเอง